วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ทศพิธราชธรรม


ทศพิธราชธรรม

     ทศพิธราชธรรม แต่โบราณมาได้มีข้อกำหนดต่างๆ ที่พระมหากษัตริยาธิราชเจ้าพึงประฏิบัติ ในพระราชจริยาวัตรจัดเป็นพระคุณสมบัติที่สำคัญยิ่งด้วย เรียกว่า ทศราชธรรม หรือคุณธรรม 10 ประการ

ธรรมะข้อ 1.ทาน
หมายถึง พระราชทานพัสดุสิ่งของ หรือปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงค์ชีวิต แก่ผู้สมควรได้รับ ได้แก่ พระภิกษุสงฆ์ และราษฎรผู้ยากไร้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงการพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ แก่พระราชวงศานุวงค์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาท ตามสมควรแก่ฐานะ.

ธรรมะข้อ 2.ศีล
หมายถึง การทรงศีล หรือการที่ทรงตั้งสังวรรักษาพระอาการ กาย วาจา ให้สะอาดปราศจากโทษอันควรครหา พระองค์ทรงมีพระราชศัทธาในบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้เสด็จออกทรงผนวช เพื่อทรงศึกษาและปฎิบัติพระธรรมวินัย อุทิศพระราชกุศลพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย.

ธรรมะข้อ 3.บริจาค
หมายถึง การพระองค์พระราชบริจาคไทยธรรม หรือสิ่งของที่พระราชทานให้เป็นประโยชน์ทั้งแก่พระราชวงศานุวงค์ และทูลข้าละอองธุลีพระบาท ตามฐานะที่ราชการฉลองพระเดชพระคุณ รวมทั้งพระราชทานแก่ประชาชนผู้ยากไร้ได้อาศัยเลี้ยงชีวิต.

ธรรมะข้อ 4.อาชวะ
หมายถึง ความซื่อตรง ทรงมีพระราชอัฌชาสัย อันประกอบด้วยความซื่อตรง ดำรงในสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อพระราชสัมพันธมิตรและพระราชวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวง ไม่ทรงคิดลวง ประทุษร้ายโดยอุบายผิดยุติธรรม.

ธรรมะข้อ 5.มัททวะ
หมายถึง ความอ่อนโยน ทรงมีพระราชอัฌชาสัยอ่อนโยน ไม่ดื้อดึงถือพระองค์แม้มีผู้ตักเตือนในบางอย่าง ด้วยความมีเหตุผลก็จะทรงพิจารณาโดยถี่ถ้วน ถ้าถูกต้องดีชอบก็ทรงอนุโมทนา และปฎิบัติตาม ทรงสัมมาคารวะอ่อนน้อมแก่ท่านผู้เจริญโดยวัยและโดยคุณ ไม่ทรงดูหมิ่น.

ธรรมะข้อ 6.ตบะ
หมายถึง ความเพียร ทรงสมาทานกุศลวัตร ด้วยการเอาพระราชหฤทัยใส่ ในการปกครองพระราชอาณาเขต และประชาชนให้มีความสุขปราศจากภยันตราย ตลอดถึงการที่ทรงมีพระอุตสาหะอันแรงกล้าในกุศลสมาทาน ระวังบาปที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และเพื่อจะกำจัดบาปกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เสื่อมสูญ ไม่ตั้งอยู่ในพระสันดาน.

ธรรมะข้อ 7.อักโกธะ
หมายถึง ความไม่โกรธ ทรงมีพระกริยาที่ไม่โกรธโดยวิสัย มิใช่เหตุที่ควรโกรธ แม้มีเหตุที่ให้ทรงพระพิโรธ แต่ทรงข่มเสียให้อันตรธานสงบระงับไป ด้วยทรงมีพระเมตตาอยู่เสมอ ไม่ทรงปรารถนาจะก่อภัย ก่อเวรแก่ผู้ใด.

ธรรมะข้อ 8.อวิหิงสา
หมายถึง ความไม่เบียดบียน ด้วยทรงมีพระราชอัฌชาสัยกอปรด้วยพระราชกรุณา ไม่ทรงปรารถนาจะก่อทุกข์แก่ผู้ใดแม้กระทั้งสัตว์ ไม่ทรงเบียดเบียนพระราชวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท และอาณาประชาราษฎร์ ให้ลำบากด้วยเหตุอันไม่ควรกระทำ.

ธรรมะข้อ 9.ขันติ
หมายถึง ความอดทน ทรงมีพระราชหฤทัยดำรงมั่นในขันติ มีความอดทนต่อสิ่งที่ควรอดทน เช่น อดทนต่อทุกข์ อดทนต่อเวทนาอันเกิดขึ้นในพระกาย และทรงมีพระขันติเมตตากรุณาธิคุณ งดโทษผู้มีความประมาท กระทำผิดล่วงพระอาญา และควรจะลงราชทัณฑ์ แต่ก็ทรงระงับด้วยความอดทนไว้ได้.

ธรรมะข้อ 10.อวิโรธนะ
หมายถึง ความเที่ยงธรรม ทรงรักษาความยุติธรรมไม่ให้แปรผันจากสิ่งที่ตรง และดำรงพระอาการไม่ยินดี ยินร้าย ต่ออำนาจคติทั้งปวง หรืออีกนัยหนึ่ง คือความไม่ประพฤติผิดในขัตติยราชประเพณี ทรงดำรงอยู่ในพระราชจริยาวัตรของพระมหากษัตริย์อย่างแท้จริง

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

๑๐๘ มงคลธรรม คำสอนพระสงฆ์

๙๑.คำสอนหลวงปู่บุญจันทร์ กมโล วัดป่าสันติกาวาส จ.อุดรธานี ความเจ็บไม่มีอยู่ที่ใจของเรา  ใจของเราไม่ใช่ความเจ็บ ความเจ็บไม่ใช่ใจของเรานะ  ใจข...